คอคอดกระ ถึง คลองไทย
ศูนย์กลางการขนส่งแห่งอาเซี่ยน ของไทย
“ บินให้ไกล ไปให้ถึงฝั่งฝัน หรือเป็นแค่ฝันค้าง กลางแดด”
โดย ดร.ทินโน ขวัญดี แห่งสำนักสวนพลู
พูดกันแล้ว พูดกันอีก ทะเลาะกันมานาน
เฝ้าดูการตัดสินใจและการเปลี่ยนแปลง ว่าการขุดคลอง
คอคอดกระ
(คอคอดกระ
มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้าง 50 กิโลเมตร) เพื่อเชื่อมทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
พูดกันมาประมาณสามร้อยชั่วโครตแล้ว ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาเริ่มชัดเจนสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมอินโดจีน ได้ขอสำรวจคอคอกกระ หรือกิ่วกระ
บริเวณแคบสุดของแหลมมลายู ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองกับ อำเภอสวี
จังหวัดชุมพรโดยมีแนวคิดว่าจะมีการขุดคลองเชื่อม
เพื่อร่นระยะเวลาการเดินทางของเรือเดินสมุทร จากฝรั่งเศสมาเวียดนาม โดยไม่ต้องไปอ้อมแหลมมลายู
ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษมหาอำนาจคู่แข่งสำคัญในยุคนั้น
พออังกฤษทราบเรื่องก็พยายามล็อบบี้ไม่ให้ไทยอนุญาตให้ฝรั่งเศสขุดคลองคอคอดกระ
ด้วยเกรงว่าฝรั่งเศสจะแผ่อิทธิพลมากเกินไปในภูมิภาคนี้
และกระทบกระเทือนกับธุรกิจการเดินเรือของอังกฤษในสิงคโปร์ ดังนั้น
ไทยแม้จะเป็นประเทศเสรี แต่อยู่ในสถานะรัฐกันชนและโดนบีบจากทั้งสองฝ่าย ฝั่งพม่า และมลายู
เป็นของอังกฤษ ฝั่งอินโดจีน เป็นของฝรั่งเศส
ก็พยายามประคับประคองสถานการณ์ให้ดีที่สุด
ส่วนรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน
อำนาจทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น
ก็เกรงใจอังกฤษผู้มีอิทธิพลสูงสุดในสยามประเทศเวลานั้น
สุดท้ายก็ทรงอนุญาตให้ฝรั่งเศสสำรวจพื้นที่ไปเรื่อย ๆ
แต่การเรื่องการขุดคลองก็ยืดเวลาออกไป จนเรื่องเงียบหายไป (เจอลูกเล่นแบบไทยๆ)
กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง โอกาสขุดคลองคอคอดกระก็ลดน้อยลง
เมื่อสนธิสัญญายุติสงครามระหว่างไทยกับอังกฤษ ได้มีการระบุชัดเจนว่า
ไทยรับรองว่าจะไม่ขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย
โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งแน่นอน คงไม่อยากให้ไทยมาทำธุรกิจการเดินเรือแข่งกับสิงคโปร์(เขี้ยวลากดิน ต้องการค้าขายเอารวยแต่เพียงผู้เดียว)
ในปีพ.ศ. 2501 นายปรีดี พนมยงค์ เสนอให้ขุดคลองคอคอดกระ
แต่ก็มีหลายเหตุผลคัดค้าน โดยเฉพาะปัญหาความมั่นคง การแบ่งแยกประเทศออกเป็นสองส่วน
จากนั้นรัฐบาลเกือบทุกยุค ก็มีการพูดถึงโครงการขุดคลองคอคอดกระมาตลอด
และดูจะเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด
เมื่อทางวุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระใน
พ.ศ. 2544 ผลการศึกษานั้น
ตัดคำว่าคอคอดกระ (ผืนแผ่นดินของไหล่ทวีปที่แคบที่สุด) และให้ใช้คำว่า คลองไทย แทน
เพราะสรุปว่าบริเวณที่จะขุดเชื่อมทะเลสองฝากฝั่งนั้น คงไม่ใช่คอคอดกระ
ด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์และทางภูมิศาสตร์
เพราะสภาพพื้นที่บริเวณคอคอดกระเป็นภูเขาและหิน มีความยากลำบากมาก
และปัญหาความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่า
บริเวณที่มีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย
มีหลายแนวด้วยกัน ผ่านการสำรวจและวิเคราะห์มาหลายครั้ง แต่เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120
กิโลเมตร เป็นแนวเส้นที่คาดว่าน่าจะมีโอกาสดี
ข่าวล่า
บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนสนใจที่จะร่วมลงทุนอภิมหาโครงการแห่งนี้ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจคลองไทย
หรือคอคอดกระจะสามารถร่นระยะเวลาเดินทางอ้อมแหลมมลายูได้เพียง 2 วัน หากเปรียบเทียบกับคลองสุเอซ หรือคลองปานามา
สามารถร่นระยะเวลาได้ประมาณ 7 วันประเทศจีนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้คลองคอคอดกระ
ร่นระยะเวลาในการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางไปประเทศจีน
ซึ่งเรือบรรทุกน้ำมันจะมาใช้บริการมากที่สุด ขณะที่ประเทศอื่นจะไม่ได้ประโยชน์อย่างมาก
เวลา 2 วันไม่ค่อยมีนัยะสำคัญ
เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลกอีกมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ท่าเรือ อาคารสถานที่ ความชำนาญของผู้คนในธุรกิจเดินเรือ
ฯลฯ
ประกอบกับในสถานะการณ์ปัจจุบันของโลกและความคิดเชิงการพัฒนาระดับประเทศได้แปรเปลี่ยนไปในระดับหนึ่ง
(แม้ว่าแนวความคิดของคนบางส่วนยังไม่เปลี่ยนแปลง)
โดยผ่านกระบวนการความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
การปกครอง และแม้กระทั่งทางด้านความมั่นคง
เช่นที่ใกล้ตัวมากที่สุดก็คือประชาคมอาเซี่ยน(ASEAN)
ในรูปแบบของประชาคมเศษฐกิจอาเซี่ยน(AEC),
ASEAN+3, ASEAN +6 , BIMSTEC, และ
APAC เป็นต้น
จากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่
12 ในเดือนมกราคม 2550 ที่เซบู
ประเทศฟิลิปปินส์ เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น 5 ปี จากปี 2563 เป็นภายในปี 2558 และในที่สุดที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่
21 ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ กำหนดให้ถือวันที่
31 ธันวาคม 2558 เป็นวันบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งหมายความว่าอาเซียนจะเหลือเวลาอีก
3 ปีเต็ม ที่ภูมิภาคแห่งนี้จะเข้ามารวมเป็น "ครอบครัวเดียวกัน”ภายใต้กฎกติกาเดียวกัน
มีอำนาจต่อรอง และผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอก
อาเซียนมีสมาชิก
10 ประเทศ มีความแตกต่างกันทั้งด้านการเมือง การปกครอง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การรวมกลุ่มกันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
จะต้องวางรากฐานให้อาเซียนมีความเชื่อมโยง (connectivity)
ระหว่างกันมากขึ้น ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่
17 เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ได้เห็นพ้องในร่างแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ( Master Plan on ASEAN
Connectivity: MPAC ) เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนปี
2554-2558 ความเชื่อมโยงครอบคลุมใน
3 มิติ คือ ความเชื่อมโยงทางกายภาพ
ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ และ ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
·
ความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical Connectivity) หมายถึง
การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้าน
การขนส่ง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และด้านพลังงาน
- ด้านการขนส่ง โครงข่ายด้านคมนาคมถือเป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทฉบับนี้
ประกอบด้วยการสร้าง และพัฒนาเส้นทางการการคมนาคม ขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศที่เชื่อมโยงประเทศสมาชิกอาเซียน
และประเทศนอกภูมิภาคเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โครงการสำคัญในลำดับต้นคือ โครงการทางหลวงอาเซียน ( ASEAN Highway Network –
AHN ) เป็นเครือข่ายเส้นทางถนนเชื่อมโยงประเทศสมาชิกเป็นระยะทางทั้งสิ้น
38,400 กิโลเมตร
และโครงการรถไฟสายสิงคโปร์ – คุนหมิง (Singapore Kunming Rail
Link -SKRL) เชื่อมโยง 8 ประเทศ เส้นทางหลักที่ผ่าน
6 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนาม
และจีน และมีเส้นทางแยกอีก 2 สาย คือ ไทย – สปป.ลาว
และ ไทย – พม่า การคมนาคมทางน้ำนั้น MPAC ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าเรือหลัก
สำหรับเครือข่ายการขนส่งทางทะเลในภูมิภาคอาเซียนไว้
47 แห่ง ซึ่งท่าเรือกรุงเทพ
และท่าเรือแหลมฉบังของไทยถูกนับรวมไว้ในยุทธศาสตร์ดังกล่าวด้วย
ส่วนการคมนาคมทางอากาศ เน้นการปรับปรุงระบบการบิน
พัฒนาคุณภาพสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งทางอากาศ
รวมทั้งการพัฒนาเส้นทางบินใหม่ที่เหมาะสม
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นการพัฒนาโครงข่ายการสื่อสารอินเทอร์เน็ต
ดาวเทียม และซอฟท์แวร์ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
การลงทุน และการเชื่อมโยงประชาชนสู่ประชาชน หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญคือ การจัดตั้ง ASEAN Broadband Corridor
ภายในปี 2557
- ด้านพลังงาน เป็นการเร่งรัดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน
โดยเฉพาะเรื่องโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอาเซียน การสร้างแนวท่อกาซธรรมชาติในอาเซียน
การใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และพลังงานหมุนเวียน
·
ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ (Institutional Connectivity) หมายถึงการเชื่อมโยงในด้านกฎระเบียบ
ต่างๆ
ผ่านการจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ และความตกลงภูมิภาค รวมทั้งพิธีสาร
ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ
และการลงทุนอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือและการพัฒนามนุษย์ และการข้ามพรมแดน
ปัจจุบัน มีความตกลงหลายกรอบที่เอื้อต่อความเชื่อมโยงของระบบ
แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ และต้อง
ปรับปรุงรายละเอียดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางปฏิบัติ อาทิ
กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วย การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน
กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดน
และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่อง หลายรูปแบบ
·
ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ( People-to-people Connectivity ) เน้นการเชื่อมโยงด้าน
การศึกษาและวัฒนธรรม
และการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว
- ด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความร่วมมือใน
4 ด้านที่มีความสำคัญสูงได้แก่
การส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่พลเมือง โดยเฉพาะเยาวชน
การเสริมสร้างอัตลักษณ์อาเซียนผ่านการศึกษา
การสร้างทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียนในสาขาการศึกษา
การเสริมสร้างการสร้างเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอาเซียน
- ด้านวัฒนธรรม จะส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงความแตกต่างในมรดกทางวัฒนธรรมภายในอาเซียน
เพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิชาการ นักเขียน ศิลปิน สื่อมวลชน และนักศึกษา
- ด้านการท่องเที่ยว แผนงานด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนระหว่างปี
2547-2553
ได้พยายามส่งเสริมให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว
แม้จะประสบความสำเร็จที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาถูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น
นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวของภูมิภาคที่เดินทางไปมาระหว่างกัน
แต่ยังมีประเด็นที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา กล่าวคือ
การจัดทำข้อกำหนดการตรวจลงตราให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การใช้ระบบประกันภัยประเภทที่
3 แก่นักท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐานสากล
ตลอดจนมาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนนี้
นับเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งของอาเซียน เนื่องจากความหลากหลายด้านสังคม
วัฒนธรรม ศาสนาและภาษา ต้องอาศัยการเรียนรู้ และปรับตัวเข้าหากันพอสมควร
แผนแม่บทว่าด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน เป็นสัญญาณที่ดีในเส้นทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เนื่องจากเป็นการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น :
(ไทยกับอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ ปี 2554)
ปัญหาเก่าที่พบ
เป็นที่ถกเถียงและเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถเกิดโครงการได้
1. เรื่องเดิม
(การเอาเปรียบทางการค้า และรักษาอิทธิพลของอังกฤษ) ไทยรับรองว่าจะไม่ขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมมหาสมุทอินเดียกับอ่าวไทย
โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (พ.ศ.2440 อังกฤษตกลงในอนุสัญญาลับว่า
ไทยจะไม่ยอมให้ชาติหนึ่งชาติใดเข้ามาเช่า
หรือถือกรรมสิทธิ์ดินแดนไทยบริเวณใต้ตำบลบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ ลงไป
โดยอังกฤษไม่เห็นชอบเด็ดขาด)
o
(ปัจจุบันหมดสนธิสัญญาลับนี้ไปแล้ว พ.ศ.2497
ไทยปลดเปลื้องพันธกรณีจากอังกฤษ )
2. การยกประเด็นความมั่นคง การแยกประเทศไทยเป็นสองส่วน
ยุ่งยากในการควบคุมดูแล
o
(ประเทศที่เป็นเกาะทำไมจึงไม่มีปัญหา
ซึ่งแต่ละเกาะมีความกว้างกว่าคลองที่จะสร้างขึ้น และปัจจุบันเทคโนโลยีทางการทหาร เขาไม่ได้ใช้กำลังทหารเดินทัพไปรบกันแล้ว
เขาใช้เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์ และดาวเทียมรบกัน ระยะห่างของคลองแค่ กิโลเมตรเดียว
จะมีปัญหาได้อย่างไร)
3. ภูมิยุทธศาสตร์ การเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านการทหาร
ที่กลายเป็นเป้าหมายของการแผ่อิทธิพลที่ชาติมหาอำนาจทั้งหลายจะเข้ามามีบทบาท
และสร้างความยุ่งยาก
o
(การสร้างความสมดุล
และดุลยภาพทางการฑูต)
4. การเงินและงบประมาณ การลงทุน ความคุ้มค่าของงบประมาณ
o
(หลากหลายวิธีการของการลงทุน
ญี่ปุ่นเคยสนใจในการลงทุนตั้งแต่ พ.ศ.2533 ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ)
o
(พ.ศ. 2558 บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนสนใจที่จะร่วมลงทุนอภิมหาโครงการแห่งนี้)
5. การสกัดโครงการจากนักการเมืองและข้าราชการ ที่รับประโยชน์จากต่างชาติ
โดยมีการกล่าวขานกันตลอดมาว่ารับผลประโยชน์จากต่างชาติปลายด้ามขวาน
ทุ่มเงินใส่ไม่กี่มัดก็สามารถใช้ปาก และมือล้มโครงการได้ โดยการอ้างสาระพัดอุปสรรค์และสร้างความน่ากลัวในด้านความมั่นคง
ประชาชนก็จะหลงเชื่อโดยปริยายเพราะในด้านความคิดนั้นถูกปลูกฝังความเชื่อไว้อย่างลึกและแน่น
ศูนย์กลางการขนส่งแห่งอาเซี่ยน ของไทย
“ บินให้ไกล ไปให้ถึงฝั่งฝัน หรือเป็นแค่ฝันค้าง กลางแดด” คอคอดกระ หรือคลองไทย
จะเป็นตัวเชื่อมให้โครงข่ายของระบบเดินไปได้อย่างเป็นรูปธรรม
สิ่งที่พบว่าน่าจะเสริมสร้างให้กับคนไทยและชาติไทยได้รับ ดังนี้
1. ระบบการขนส่งทางน้ำที่จะเชื่อมโยงกับการขนส่งทางบก
จะเชื่อมกันตลอดแนวการขนส่งระหว่างประเทศชายทะเลด้วยกัน และประเทศที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินใหญ่
แม้ว่าการร่นระยะทางจากฝั่งอ่าวไทยกับอันดามันจะร่นระยะเวลาแค่ 2 วันการเดินเรือในแนวมะละกาก็ตาม (จีน เกาหลี และญี่ปุน
จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการขนส่งทางน้ำมีมาก)
ซึ่งประเทศไทยจะได้รับค่าธรรมเนียมในการเก็บค่าผ่านคลอง
(คลองที่สร้างระวางเรือที่ผ่านระดับระวางบรรทุก
800,000 ตัน กรอส) เป็นรายได้เข้าประเทศ
ในขณะเดียวกันการเชื่อมโยงระบบการขนส่งภายในประเทศทั้งทางน้ำ
ทางบก ระบบราง และทางอากาศ จะเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้โดยง่าย
(นั่นคือศูนย์กลางอย่างแท้จริง)
2. สร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชนเพิ่มขึ้น เพราะจะมีทั้งท่าเรือ
อู่ซ่อมเรือ การบริการ การท่องเที่ยว โรงแรม การบริการทางการเงินและธนาคาร
สิ่งที่ตระหนัก และสร้างความเข้าใจ
1. ความมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น ส่วนรวมได้อะไร เขาควรได้อะไร
เขาเสียอะไร และควรดูแลเขาอย่างไร
2. ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มลภาวะ และการควบคุม
อยากให้พี่น้องชาวไทยลองคิดทบทวนดู
หากคุณมีเพื่อนบ้านที่คอยอิจฉาคุณทุกอย่างเพราะคุณดีกว่าเขาไปเสียทุกด้าน
โดยพยายามกีดกันโอกาสและความเจริญก้าวหน้าของคุณทุกวิถีทาง และคอยเป็น
พี อาร์ ส่วนตัวกระจายข่าวแต่ในด้านลบให้คุณ
หรือคอยดิสเครดิตคุณตลอดเวลา มิหนำซ้ำยังมีคนในบ้านเป็นใจให้ความร่วมเพราะเห็นแก่
"เงิน" คุณก็คงไม่สามารถ ลืมตาอ้าปากได้ไปตลอดชีวิตแน่นอน
คุณรู้ไหม ทำไมทุกวันนี้คนไทยยังมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานโลก
ทั้ง ๆ ที่เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ขนาดนี้ ทำไมตามสี่แยกไฟแดงในกรุงเทพตอนเที่ยงคืน
ยังมีเด็กเล็ก ๆ ต้องเดินขายพวงมาลัย เสี่ยงต่อการโดนรถชน ทั้ง ๆ
ที่เป็นเวลาที่เด็กควรจะได้นอนหลับเพื่อตื่นไปโรงเรียนในรุ่งเช้า
ทำไมประเทศไทยยังเลื่องลือในเรื่องโสเภณีทั้งหญิง
และชาย ยาเสพติดยังไม่หมดไปแถมระบาดหนักกว่าเดิม
ทำไมคนไทยในสายตาชาวโลกยังคงเป็นแค่แรงงานราคาถูกในภาคอุตสาหกรรม และทำไม ทำไม ทำไม
อีกกี่ร้อยปัญหาที่ปรากฎ คอรัปชั่น
การศึกษา ทุกคำตอบทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเหตุเป็นผลต่อซึ่งกันและกัน คนไทยไม่ได้โง่กว่าใครในโลกนี้ แต่ทำไมคนไทยยังต้องต่อสู้กับปัญหาปากท้อง
และความมั่นคงของชีวิตตัวเองแทบเอาตัวไม่รอด “ ตื่นเถิดชาวไทย”